วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สรุป Internet

สรุป Internet



อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network
อินเทอร์เน็ต หมายถึง  "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก  โดยใช้โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร เช่น IPX/SPX NetBIOS NetBEUI และ TCP/IP ซึ่ง TCP/IP ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 และเป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอยู่แพร่หลาย
อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960
ปี ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศอเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหาร ชื่อ ARPANET ขึ้น
เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เฉพาะเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไปเครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลกมีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็ว
ปี ค.ศ.1973  (พ.ศ.2516)
มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น NSFNET (National Science Foundation Network), CSNET ( Computer Science Network), EUNET (European Unix Network ) เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ “เครือข่ายของเครือข่าย”
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับ อาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกันร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC สายโทรศัพท์ทองแดง 


baud
          ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า ยังมอริส - อีมิล โบด็อท (jean - Maurice - Emile Baudot) เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข
ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem) ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET
ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกานับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย


หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา


ปี พ.ศ. 2531
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น  ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet (Thai Computer Science Network) มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ที่แพร่หลายในออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)


การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนามบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่าย
ใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้านผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up คิดค่าบริการเป็นชั่วโมง
เทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายเทคโนโลยี เช่น
        * HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
        * ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
        * RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
        * VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
ขณะนี้เทคโนโลยี ADSL เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการเลือกใช้มากที่สุด เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มี ความเร็วสูง และระยะทางที่ทำงานได้ค่อนข้างไกล ซึ่งเหมาะสม ที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน ในปัจจุบันมากที่สุด  ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี VDSL ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 52 Mbps ก็อาจจะถูกนำมาใช้งานมากขึ้น


ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line คือ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง มีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ
VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line หรือ Very High Bit Rate Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎี
          และพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างเป็น สิบๆ กิโลเมตร  
World Wide Web เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรปหรือ  CERN (Conseil European      pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยใช้ตัวอักษรและภาพกราฟิก ข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย แสดงผลในรูปของ hypertext links
 WWW เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก ด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปของ Hypertext Links ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารอื่น ๆ  ได้อย่างสะดวก
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์  ในรูปแบบของเอกสาร HTML โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่งเอกสาร HTML ไปแสดงผลในเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้เมื่อมีการเรียกใช้ ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต
          การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ต  มี 3 ระดับดังนี้
IP Address (Internet Protocol Address) เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งจะเป็นหมายเลขให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เชื่อมโยงถึงได้  แต่หมายเลขจำยาก จึงเทียบเคียงเป็นตัวอักษร
DNS (Domain Name System) คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อที่สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย
URL (Uniform Resource Locator) เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  สามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้งาน
Hyper Text Transport Protocol (HTTP) กฎเกณฑ์การส่งไฮเพอร์เท็กซ์ (เอชทีทีพี) มาตรฐานอินเทอร์เนตที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยการกำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน รวมถึงแฟ้มที่เข้าถึงได้ในกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol : FTP)

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

•{►ประชาคมอาเซียนกับการศึกษา◄}•
เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
    ► ความหมาย อาเซียน ( ASEAN ) มาจากคาว่า Association of South-East Asian Nations แปลว่าประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศใช้คานี้ส่วนราชบัณฑิตยสถานบัญญัติใช้คาว่า สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นคาที่มีความหมายเดียวกัน มีคา 2 คาที่คล้ายกันและออกเสียงเหมือนกันคือ Asian หมายถึงชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ASEAN (อักษรตัวใหญ่) หมายถึงชาติในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ
    ► ความเป็นมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN มีจุดกาเนิดแรกเริ่มจากปัจจัยสาคัญของการเมืองในภูมิภาคแถบนี้ที่เกิดจากระบอบคอมมิวนิสต์ในบางประเทศเช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนามเพื่อมิให้เกิดการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์จึงส่งผลให้เกิดการรวมตัวของประเทศโลกเสรีที่มุ่งก่อตั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับภูมิภาค แรกเริ่มมี 3 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย และสิงคโปร์ ก่อตั้งเป็นสมาคม ASA( Association of Southeast Asians )ภายหลังมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ( Bangkok Declaration )เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งเป็น ASEAN โดยเริ่มแรกจัดตั้งโดยประเทศสมาชิก 5 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์ เรียกว่ากลุ่ม “Upper 5 Countries”
ภายหลังเมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงประเทศต่างๆในภูมิภาคได้เริ่มสนใจสมัครเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเรียกว่ากลุ่ม “ Lower 5 Countries” ดังนี้คือ
- บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อ 7 มกราคม 2527
- เวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538
- ลาว และ พม่า เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
- กัมพูชา เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมอาเซียมีจานวนทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลย์เซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
    ► สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ของอาเซียนคือรูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดง ที่ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้าเงิน รวงข้าง 10 ต้นมัดเป็นหนึ่งเดียวหมายถึงประเทศ 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึงความกล้าหาญและพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้า สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้าเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
    ► วิสัยทัศน์ ( Vision ) ประชาคมอาเซียนได้กาหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้
“หนึ่งวิสัยทัศน์ , หนึ่งเอกลักษณ์ , หนึ่งประชาคม ( One Vision , One Identity , One Community )”



ประชาคมอาเซียนกับการศึกษา
    ► กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดกรอบและแนวทางในการปฏิบัติด้านการศึกษาของไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ที่จะถึงนี้ โดยกำหนดกรอบอาเซียนแนวทางการศึกษาไทยดังนี้


    1. สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานภายใต้กรอบรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน กรอบประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เสริมสร้างความตะหนักเกี่ยวกับอาเซียน และการจัดตั้งสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา


    2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโครงการ Education Hub School และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ Spirit of ASEAN (Sister/Partner  School และ Buffer School) สำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 2554 คือการพัฒนาหลักสูตรและสื่อเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งกิจกรรมค่ายเยาวชนเพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน


    3. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามาเลเซีย-อินโดนีเซีย-ไทย การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้านการอุดมศึกษา และการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษาอาเซียน


    4. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โครงการเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรนานาชาติ จัดการเรียนการสอนบริการสังคมร่วมกับนักศึกษาสิงคโปร์ โครงการแลกเปลี่ยนกับ Institute Of Technical Education Collage Eastสิงคโปร์ โครงการพัฒนาโรงเรียนเทคนิคลาว แลกเปลี่ยนนักศึกษาทวิภาคีระดับ ปวส.กับบรูไนฯ โรงเรียนพระราชทานฯ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลกัมพูชา ร่วมมือกับ SEAMEO SEAMOLEC ประเทศอินโดนีเซีย จัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้


    5. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา จัดโครงการสัมมนาการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย บรรยายทางวิชาการเรื่องความตะหนักเรื่องการก้าวสู่อาเซียน บรรยายเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนและคนด้อยโอกาสให้กับผู้แทนมาเลเซีย โครงการพัฒนานโยบายการศึกษาสู่อาเซียน:กรณีศึกษาไทย-ลาว-เวียดนาม โครงการความร่วมมือไทย-ลาว โครงการความร่วมมือไทย-เวียดนาม


    6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้ประเทศเพื่อนบ้าน อบรมเทคนิคการจัดนิทรรศการ การนำเสนอข้อมูล ส่งเสริมความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนในศูนย์วิทยาศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน


    7. สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องอาเซียนแก่บุคลากร ใน สช.และโรงเรียนเอกชน สนับสนุนโรงเรียนเข้าแข่งขันกีฬาประถมศึกษาอาเซียนครั้งที่ 3 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนมัธยมศึกษาปี 2552 กับสิงคโปร์ ร่วมสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ การศึกษาไทยที่ประเทศเวียดนาม


    8. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คุรุสภาได้เข้าร่วมเป็นภาคีองค์กรสมาชิกสภาครูอาเซียน โดยร่วมกับองค์กรครูในกลุ่มประเทศอาเซียน 5ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก 23 องค์กรจาก 9 ประเทศ


    9. เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายในอาเซียน มีการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินหลักสูตรในสาขาวิชาต่างๆ เช่น เคมี คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ


นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้พิจารณาแนวทางการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษาเพื่อกำหนดเป็นนโยบายดังนี้


    1. การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อม ของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558


    2. การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเช่นความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน


    3. การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ ในอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆและการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน


    4. การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษาในอาเซียน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน


    5. การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้องค์กรหลักเตรียมจัดทำแผนการดำเนินงานและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการรองรับในเรื่องดังกล่าว โดยให้พิจารณาถึงระบบการศึกษาในอาเซียนและ นโยบายของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงในอาเซียนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

•{►60 ปี โทรทัศน์ไทย◄}•

60 ปี โทรทัศน์ไทย





    กิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยก็มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย โทรทัศน์ถือเป็นสื่อที่มีอิทธิพลและบทบาทต่อผู้ชมสูง ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้ได้ทั้งภาพ เสียง ความรวดเร็ว ความสมจริง ทำให้ความนิยมในโทรทัศน์เพิ่มขึ้น จนปัจจุบัน สื่อโทรทัศน์ก็ถือเป็นสื่อหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสังคมมาก สื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยมีวิวัฒนาการแบ่งออกได้เป็น 6 ยุค ดังนี้


1. ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (2491-2499)


    2493 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้อ่านบทความของสรรพศิริ วิริยศิริ เจ้าหน้าที่ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ เกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและ อเมริกา ทำให้จอมพล ป. มีความคิดที่อยากจะตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยบ้าง เพื่อใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษา การแพทย์ การสาธารณสุข และเป็นเครื่องมือตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามและเสริมอิทธิพลทางการเมืองให้กับตัวเอง
    ► ในตอนแรกจะจัดตั้งสถานีโทรทัศน์โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาด้านการเงินอยู่ จนมีคนคัดค้านเรื่องนี้พอสมควร สุดท้ายจึงมีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นภายใต้ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท
    ► มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมด้านโทรทัศน์ที่บริษัท อาร์ซีเอ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และการเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์ขึ้น และในช่วงทศวรรษนี้เอง กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ได้ทรงบัญญัติศัพท์ วิทยุโทรทัศน์ ขึ้นใช้
    ► ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำวิทยุ โทรทัศน์เข้ามาเป็นครั้งแรกคือ นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการบริษัทวิเชียรวิทยุและโทรภาพ โดยนำเครื่องส่ง 1 เครื่อง เครื่องรับ 4 เครื่องหนักกว่า 2 ตัน ทำการทดลองให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาล และต่อมาเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2495 เปิดให้ประชาชนที่ศาลาเฉลิมกรุง ได้มีผู้ชมอย่างล้นหลามด้วยเป็นของแปลกใหม่
    ► วันที่ 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำพิธีเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมขึ้น เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานีคนแรก และออกอากาศในระบบขาวดำ
    ► รายการในระยะแรกเป็นรายเพื่อความบันเทิง เช่น นำลิเกมาเล่นสดออกทีวี มีรายการสนทนา รายการตอบคำถามชิงรางวัล และ ละคร


2. โทรทัศน์กับเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ. 2500-2509)
    ► โทรทัศน์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการทหารและการเมือง ระหว่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ จอม พลสฤษดิ์ ธนรัชต์
    ► จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ยึดอำนาจได้จากการปฏิวัติและได้ริเริ่มแนวคิดในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทย โดยใช้งบประมาณจากหน่วยงานทหารในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างทหารและประชาชน และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 (ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ ได้เปลี่ยนมาออกอากาศในระบบสีภายใต้ชื่อสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5)
    ► ดังนั้น ในยุคนี้ มีโทรทัศน์ในไทยแล้ว 2 ช่อง คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม และ ตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ)


3. ยุคเติบโตและการก้าวสู่โทรทัศน์ระบบสี (2510 – 2519)


    ► วันที่ 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพออกอากาศในระบบสีเป็นสถานีแรกในประเทศไทย ภายใต้การดำเนินการของบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยป็นรายการแรก
    ► 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี ถือเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ออกอากาศในระบบสี ภายใต้การดำเนินการของบริษัทบางกอก เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
    ► ในระหว่างนั้น ช่วงปี 2511 เมื่อมีโทรทัศน์แล้ว 3 ช่อง จึงมีความคิดก่อตั้งทีวีพูล หรือ โทรทัศน์รวมกันเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อให้โทรทัศน์แต่ละช่องได้ร่วมถ่ายทอดเหตุการณ์สำคัญด้วยกัน โดยใช้ทรัพยากรเดียวกัน จึงมีการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2511 มีพลตรีประสิทธิ์ ชื่นบุญ เป็นประธานคนแรก
    ► เมื่อมีโทรทัศน์สีเกิดขึ้นสองช่อง ทำให้โทรทัศน์ระบบขาวดำต้องปรับตัวเองเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาด
    ► ในปี 2517 ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านเทคโนโลยีโทรทัศน์ของประเทศไทย เพราะสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบขาวดำ 2 ช่องที่มีอยู่เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศมาเป็นระบบสี คือ
    ► สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (ระบบขาวดำ) เปลี่ยนมาเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (ระบบสี)
    ► สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) เปลี่ยนมาเป็น สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 (ระบบสี)


เกิดการควบคุมสื่อทีวีขึ้น
    ► 2519 เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ช่อง 9 เป็นช่องเดียวที่รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเกิดผลกระทบต่อรัฐบาล และรัฐบาลรู้ถึงอิทธิพลของทีวีในการสื่อสาร ดังนั้น จากเหตุการณ์นั้นทำให้
          • กรรมการผู้จัดการและทีมข่าวถูกปลด
          • รัฐบาลควบคุมสี่อ กำหนดเนื้อหารายการที่เสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
          • ให้ออกอากาศข่าวภาคค่ำตอน 20.00
          • ให้บันทึกเทปรายการที่เกี่ยวกับการเมืองล่วงหน้า
          • ยุบช่อง 9 เปลี่ยนเป็น สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ


4. การพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (2520-2529)


    ► เมื่อเกิดโทรทัศน์สีแล้ว ทุกช่องก็ต่างต้องแข่งขันกันอย่างเต็มที่ โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องแข่งกันปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพระบบสีของตัวเอง แต่จากเหตุการณ์ที่เริ่มมีการควบคุมสื่อในการนำเสนอข่าวสารมากขึ้น และการแสดงความคิดทางการเมืองก็ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มุ่งเน้นนำเสนอความบันเทิง และมุ่งผลิตรายการที่จะทำให้ได้ผลกำไรทางธูรกิจ
    ► ในยุคสมัยนี้มีการนำเข้าละครจีนที่เป็นหนังชุดหลายเรื่องจนได้รับความนิยมและสร้างเรตติ้งให้สถานีโทรทัศน์อย่างมาก
    ► ด้านบริษัทไทยโทรทัศน์นั้นถูกยุบด้วยเหตุผลว่าขาดทุน และก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การสื่อสารมวลชนมาบริหารงานสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 แทน


5. ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (2530-2539)


    ► ทศวรรษนี้ถือเป็นยุคทองของกิจการโทรทัศน์ไทยเนื่องจากเป็นทศวรรษที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์ประเภทรับชมได้โดยไม่เสียค่าสมาชิก หรือ ฟรีทีวี (Free TV) และ โทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription TV) นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศไทยเติบโตเป็นอย่างมาก


ในทศวรรษนี้มีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนี้
    ► วันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์สีแห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ขึ้น ซึ่งเป็นสถานีที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการสู่ประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึง การเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายให้แก่ สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ (ปัจจุบันก็คือ ส.ท.ท 11)


นอกจากนี้ ยังมีการก่อตั้งโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกขึ้น 3 รายคือ


    ► เดือนตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิ้ล ทีวี เริ่มดำเนินกิจการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของประเทศ ภายใต้การดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บอร์ดคาสติ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด
    ► ปี พ.ศ. 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิ้ล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก ภายใต้การดำเนินการของบริษัทสยามบอร์ดคาสติ้ง จำกัด (ต่อมาสถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิ้ล ทีวี ได้ยุติการดำเนินธุรกิจลงในปี 2540 เนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ)
    ► พ.ศ. 2537 บริษัทยูทีวี เคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
    ► พ.ศ. 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ภายใต้ปรัชญาทีวีเสรี โดยมีบริษัทสยามเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน และดำเนินการบริหารสถานี ต่อมาสถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีการเปลี่ยนสมาชิกผู้ถือหุ้น และการซื้อขายกิจการผ่านตลาดหลักทรัพย์ จนภายหลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อ เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเฮชเอฟทีไอทีวี และเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นในเวลาต่อมาสถานีโทรทัศน์ระบบยูเฮชเอฟทีไอทีวีต้องยุติการออกอากาศไป โดยช่องสัญญาณดังกล่าวได้นำมาใช้ส่งสัญญาณสถานีโทรทัศน์สาธารณะช่องทีพีบีเอสแทน
    ► นอกจากนี้ ในยุคนี้ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเติบโต สื่อมีรายได้มากขึ้นจากเม็ดเงินของโฆษณาจากภาคธุรกิจ ทำให้สื่อโทรทัศน์มีเงินลงทุนในการผลิตรายการดีๆ และมีคุณภาพมากขึ้น ในช่วงนี้ มีการผลิตรายการต้นทุนสูง เช่น ละครที่มีการลงทุนมาก ไปถ่ายทำต่างประเทศ รายการต้นทุนสูง ถ่ายทำนอกสถานที่ หรือแม้แต่ข่าวภาคภาษาอังกฤษ


อย่างไรก็ตาม รายการโทรทัศน์ก็ยังมุ่งเน้น “ความบันเทิง” อยู่นั่นเอง
    ► ในประเด็นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า รากฐานของรสนิยมในการชมโทรทัศน์ที่ “ต้องการความบันเทิง” มากกว่าอย่างอื่นนั้นเป็นเพราะตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการมีโทรทัศน์ในไทย รายการก็เน้นความบันเทิงมาตั้งแต่แรก โดยมีปัจจัยทั้ง รายการบันเทิงผลิตได้ง่าย ต้นทุนไม่สูง ประกอบกับ การควบคุมเรื่องการเมืองและการนำเสนอข่าวสารทำให้โทรทัศน์ไม่อยากเจ็บตัว อีกทั้งรายการบันเทิงสามารถสร้างกำไรทางธุรกิจให้สถานีโทรทัศน์ได้มาก ตามแนวคิด โทรทัศน์เชิงพาณิชย์ ที่ประเทศไทยคงได้แนวคิดมาจากการไปฝึกและดูงานจากบริษัท RCA ของสหรัฐ ซึ่งมีระบบโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ ทำให้ การชมโทรทัศน์ในไทยมุ่งเน้นในเรื่อง “ความบันเทิง” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


6. การแข่งขันทางธุรกิจภายใต้เศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก


    ► สภาพเศรษฐกิจในทศวรรษ 2540 ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยสถานีโทรทัศน์ต่างต้องปรับตัวและการบริหารสถานีให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเขตเศรษฐกิจในยุคฟองสบู่แตก เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ในทศวรรษนี้ มีดังนี้
    ► วันที่ 10 พฤศจิกายน 2540 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ได้จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network ขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
    ► วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี ตัดสินใจรวมกิจการกันเนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระทางการเงินที่เกิดจากสภาพปัญหาเศรษฐกิจในขณะนั้น โดยได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อเป็น บริษัท ยูไนเต็ด บอร์ดคาสติ้ง คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และออกอากาศโทรทัศน์ประเภทบอกรับเป็นสมาชิกภายใต้ชื่อ ยูบีซี (ต่อมาในปี 2549 ยูบีซีได้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น ทรูวิชั่นส์)
    ► เดือนมิถุนายน 2548 องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้เริ่มทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อสมท. ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

•{►Internet◄}•

•{►Internet◄}•


     อินเทอร์เน็ต ( Internet ) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง เช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้


อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net 
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง 
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)


ความเป็นมาของ อินเทอร์เน็ต


     ► อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต
(ARPAnet - Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
     ► ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET - Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นใน  ปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
     ► ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
     ► ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
     ► ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
     ► ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา


บริการที่อินเทอร์เน็ตมีให้



    1. Telnet หรือ SSH คือเครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้ติดต่อเครื่องบริการ (Server) เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของเครื่อง ปิดเปิดบริการ รับส่งเมล ใช้พัฒนาโปรแกรม เป็นต้น โปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับการติดตั้ง TCP/IP ผู้ใช้สามารถเรียกใช้จาก c:\windows\telnet.exe แต่การใช้งานเป็นแบบ Text Mode ที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้คำสั่งให้เข้าใจก่อนใช้งาน ในอดีตผู้ใช้มักใช้โปรแกรม Pine ในเครื่องบริการสำหรับรับส่งอีเมล ก่อนการใช้ POP3 และ Web-Based จะแพร่หลาย โปรแกรม PINE ถูกพัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย WASHINGTON University


    2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail) คือ อีเมล คือ บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล เช่น hotmail.com, yahoo.com, thaimail.com, chaiyo.com เป็นต้น บริการอีเมลที่ได้รับความนิยมมี 2 ประเภทคือ Web-Based Mail และ POP3 บริการแบบ POP3 นั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องบริการเมลไปเก็บไว้ในเครื่องของตน จึงเปิดอ่านอีเมลเก่าได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ในสำนักงานที่มีเครื่องเป็นของตนเอง โปรแกรมที่ใช้เปิดอีเมลแบบ POP3 เช่น Outlook Express, Eudora หรือ Netscape Mail เป็นต้น


    3. USENET News หรือ News Group คือ ในยุคแรกของอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการ USENET อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแหล่งข้อมูลให้สืบค้นขนาดใหญ่ สามารถส่งคำถาม เข้าไปตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดสังคมของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ปัจจุบันมีการใช้งาน USENET น้อยลง เพราะผู้ใช้หันไปใช้เว็บบอร์ดซึ่งเข้าถึงได้ง่าย และเป็นที่แพร่หลายกว่า ปัจจุบันเชื่อว่าเยาวชนรู้จัก http://www.pantip.com มากกว่า news://soc.culture.thai


    4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล) คือ บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
   การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว


    5. WWW (World Wide Web) คือ บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)
   บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น


    6. Skype, Net2Phone, Cattelecom.com คือ บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และผู้ให้บริการบางรายยังมีบริการ PC2Fax สำหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สำนักงาน โดยชำระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมด


    7. Netmeeting คือ ในอดีต .. เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยภาพ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ คล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่มีค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
    ผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อไม่เร็วพอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม (WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วอีกต่อไป To Open Netmeeting in WinXP : Start, Run, conf.exe


    8. ICQ (I Seek You) คือ ในอดีต .. บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยมจนไม่คิดว่าจะมีใครมาล้มได้ ผู้ใดที่มีโปรแกรม ICQ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกับเพื่อนที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันทีว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วยหรือไม่ เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว ซึ่งปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ MSN Messenger มากขึ้น


    9. IRC (Internet Relay Chat) คือ ในอดีต .. บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป หญิงอาจบอกว่าตนเป็นชาย นักเรียนมัธยมอาจบอกว่าตนเป็นนางงาม เด็กตจว. อาจบอกว่ากำลังเรียนต่อแอลเอ เป็นต้น
    ใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือสื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น "ห้องวิธีแก้เหงา" หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้องพร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม เมื่อสนทนากันถูกคอก็สามารถ ที่นัด Meeting ตามร้านอาหาร เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือนัดสนทนากันใหม่ในเวลาที่สะดวกสำหรับวันต่อไป จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิต ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat


    10. Game Online คือ เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ต


    11. Software Updating คือ มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์


    12. Palm หรือ PocketPC คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
    Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ


    13. WAP (Wireless Application Protocal) คือ WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ เช่น wopwap.com, wap.siam2you.com, wap.a-roi.com, wap.mweb.co.th รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น