วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สรุป Internet

สรุป Internet



อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network
อินเทอร์เน็ต หมายถึง  "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก  โดยใช้โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร เช่น IPX/SPX NetBIOS NetBEUI และ TCP/IP ซึ่ง TCP/IP ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 และเป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอยู่แพร่หลาย
อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960
ปี ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศอเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหาร ชื่อ ARPANET ขึ้น
เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เฉพาะเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไปเครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลกมีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็ว
ปี ค.ศ.1973  (พ.ศ.2516)
มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น NSFNET (National Science Foundation Network), CSNET ( Computer Science Network), EUNET (European Unix Network ) เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ “เครือข่ายของเครือข่าย”
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับ อาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกันร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC สายโทรศัพท์ทองแดง 


baud
          ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า ยังมอริส - อีมิล โบด็อท (jean - Maurice - Emile Baudot) เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข
ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem) ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET
ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกานับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย


หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา


ปี พ.ศ. 2531
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น  ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet (Thai Computer Science Network) มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ที่แพร่หลายในออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)


การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนามบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่าย
ใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้านผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up คิดค่าบริการเป็นชั่วโมง
เทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายเทคโนโลยี เช่น
        * HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
        * ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
        * RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
        * VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
ขณะนี้เทคโนโลยี ADSL เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการเลือกใช้มากที่สุด เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มี ความเร็วสูง และระยะทางที่ทำงานได้ค่อนข้างไกล ซึ่งเหมาะสม ที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน ในปัจจุบันมากที่สุด  ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี VDSL ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 52 Mbps ก็อาจจะถูกนำมาใช้งานมากขึ้น


ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line คือ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง มีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ
VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line หรือ Very High Bit Rate Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎี
          และพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างเป็น สิบๆ กิโลเมตร  
World Wide Web เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรปหรือ  CERN (Conseil European      pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยใช้ตัวอักษรและภาพกราฟิก ข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย แสดงผลในรูปของ hypertext links
 WWW เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก ด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปของ Hypertext Links ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารอื่น ๆ  ได้อย่างสะดวก
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์  ในรูปแบบของเอกสาร HTML โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่งเอกสาร HTML ไปแสดงผลในเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้เมื่อมีการเรียกใช้ ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต
          การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ต  มี 3 ระดับดังนี้
IP Address (Internet Protocol Address) เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งจะเป็นหมายเลขให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เชื่อมโยงถึงได้  แต่หมายเลขจำยาก จึงเทียบเคียงเป็นตัวอักษร
DNS (Domain Name System) คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อที่สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่าย
URL (Uniform Resource Locator) เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  สามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้งาน
Hyper Text Transport Protocol (HTTP) กฎเกณฑ์การส่งไฮเพอร์เท็กซ์ (เอชทีทีพี) มาตรฐานอินเทอร์เนตที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยการกำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน รวมถึงแฟ้มที่เข้าถึงได้ในกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol : FTP)

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

•{►ประชาคมอาเซียนกับการศึกษา◄}•
เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
    ► ความหมาย อาเซียน ( ASEAN ) มาจากคาว่า Association of South-East Asian Nations แปลว่าประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศใช้คานี้ส่วนราชบัณฑิตยสถานบัญญัติใช้คาว่า สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นคาที่มีความหมายเดียวกัน มีคา 2 คาที่คล้ายกันและออกเสียงเหมือนกันคือ Asian หมายถึงชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ASEAN (อักษรตัวใหญ่) หมายถึงชาติในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ
    ► ความเป็นมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN มีจุดกาเนิดแรกเริ่มจากปัจจัยสาคัญของการเมืองในภูมิภาคแถบนี้ที่เกิดจากระบอบคอมมิวนิสต์ในบางประเทศเช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนามเพื่อมิให้เกิดการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์จึงส่งผลให้เกิดการรวมตัวของประเทศโลกเสรีที่มุ่งก่อตั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับภูมิภาค แรกเริ่มมี 3 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย และสิงคโปร์ ก่อตั้งเป็นสมาคม ASA( Association of Southeast Asians )ภายหลังมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ( Bangkok Declaration )เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งเป็น ASEAN โดยเริ่มแรกจัดตั้งโดยประเทศสมาชิก 5 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์ เรียกว่ากลุ่ม “Upper 5 Countries”
ภายหลังเมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงประเทศต่างๆในภูมิภาคได้เริ่มสนใจสมัครเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเรียกว่ากลุ่ม “ Lower 5 Countries” ดังนี้คือ
- บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อ 7 มกราคม 2527
- เวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538
- ลาว และ พม่า เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
- กัมพูชา เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมอาเซียมีจานวนทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลย์เซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
    ► สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ของอาเซียนคือรูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดง ที่ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้าเงิน รวงข้าง 10 ต้นมัดเป็นหนึ่งเดียวหมายถึงประเทศ 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึงความกล้าหาญและพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้า สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้าเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
    ► วิสัยทัศน์ ( Vision ) ประชาคมอาเซียนได้กาหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้
“หนึ่งวิสัยทัศน์ , หนึ่งเอกลักษณ์ , หนึ่งประชาคม ( One Vision , One Identity , One Community )”



ประชาคมอาเซียนกับการศึกษา
    ► กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดกรอบและแนวทางในการปฏิบัติด้านการศึกษาของไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ที่จะถึงนี้ โดยกำหนดกรอบอาเซียนแนวทางการศึกษาไทยดังนี้


    1. สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานภายใต้กรอบรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน กรอบประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เสริมสร้างความตะหนักเกี่ยวกับอาเซียน และการจัดตั้งสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา


    2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโครงการ Education Hub School และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ Spirit of ASEAN (Sister/Partner  School และ Buffer School) สำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 2554 คือการพัฒนาหลักสูตรและสื่อเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งกิจกรรมค่ายเยาวชนเพื่อการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน


    3. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษามาเลเซีย-อินโดนีเซีย-ไทย การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้านการอุดมศึกษา และการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษาอาเซียน


    4. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โครงการเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรนานาชาติ จัดการเรียนการสอนบริการสังคมร่วมกับนักศึกษาสิงคโปร์ โครงการแลกเปลี่ยนกับ Institute Of Technical Education Collage Eastสิงคโปร์ โครงการพัฒนาโรงเรียนเทคนิคลาว แลกเปลี่ยนนักศึกษาทวิภาคีระดับ ปวส.กับบรูไนฯ โรงเรียนพระราชทานฯ วิทยาลัยกำปงเฌอเตียลกัมพูชา ร่วมมือกับ SEAMEO SEAMOLEC ประเทศอินโดนีเซีย จัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้


    5. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา จัดโครงการสัมมนาการวิจัยการศึกษาไทย-มาเลเซีย บรรยายทางวิชาการเรื่องความตะหนักเรื่องการก้าวสู่อาเซียน บรรยายเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนและคนด้อยโอกาสให้กับผู้แทนมาเลเซีย โครงการพัฒนานโยบายการศึกษาสู่อาเซียน:กรณีศึกษาไทย-ลาว-เวียดนาม โครงการความร่วมมือไทย-ลาว โครงการความร่วมมือไทย-เวียดนาม


    6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนให้ประเทศเพื่อนบ้าน อบรมเทคนิคการจัดนิทรรศการ การนำเสนอข้อมูล ส่งเสริมความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพชุมชนในศูนย์วิทยาศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน


    7. สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องอาเซียนแก่บุคลากร ใน สช.และโรงเรียนเอกชน สนับสนุนโรงเรียนเข้าแข่งขันกีฬาประถมศึกษาอาเซียนครั้งที่ 3 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนมัธยมศึกษาปี 2552 กับสิงคโปร์ ร่วมสัมมนาวิชาการและนิทรรศการ การศึกษาไทยที่ประเทศเวียดนาม


    8. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คุรุสภาได้เข้าร่วมเป็นภาคีองค์กรสมาชิกสภาครูอาเซียน โดยร่วมกับองค์กรครูในกลุ่มประเทศอาเซียน 5ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก 23 องค์กรจาก 9 ประเทศ


    9. เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายในอาเซียน มีการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินหลักสูตรในสาขาวิชาต่างๆ เช่น เคมี คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ


นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้พิจารณาแนวทางการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษาเพื่อกำหนดเป็นนโยบายดังนี้


    1. การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อม ของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558


    2. การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเช่นความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน


    3. การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ ในอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆและการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน


    4. การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีทางการศึกษาในอาเซียน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน


    5. การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้องค์กรหลักเตรียมจัดทำแผนการดำเนินงานและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการรองรับในเรื่องดังกล่าว โดยให้พิจารณาถึงระบบการศึกษาในอาเซียนและ นโยบายของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงในอาเซียนต่อไป